ประวัติความเป็นมา
บ้านโคกแก้วหมู่ที่ 6 ตำบลละลม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ก่อตั้งเมื่อปี 2511 โดยมีหลายครอบครัว ได้อพยพมาจากบ้านกอกหวาน ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เดิมบ้านโคกแก้วการปกครองขึ้นกับบ้านละลม ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อปี พ.ศ.2529 ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านโคกแก้ว หมู่ที่ 17 ตำบลละลม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีนายบุญรุด อสิพงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านและเมื่อปี พ.ศ.2534 ได้แยกออกมาจากอำเภอขุขันธ์จัดตั้งขึ้นมาเป็น กิ่งอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาปี พ.ศ.2553 ได้ทำการเลือกตั้งผู้บ้านคนปัจจุบัน คือ นายประเสริฐ แสงเพ็ง เป็นผู้บ้านคนปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
ที่ตั้งบ้านโคกแก้ว ระยะทางห่างอำเภอภูสิงห์ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑๘
กิโลเมตร และระยะทางห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ
ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร
ทิศเหนือ จดกับบ้านแหลมทอง หมู่ที่ 12
ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้ จดกับบ้านละลมเหนือ หมู่ที่ 1
ตำบลละลม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก จดกับบ้านพรหมทอง หมู่ที่ 5
ตำบลละลม อำเภอภูสิงห์ จังหวัด ศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก จดกับบ้านสวาย หมู่ที่ 7
ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ขนาดพื้นที่หมู่บ้าน
บ้านโคกแก้ว มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,500
ไร่ แบ่งออกเป็น
๑) พื้นที่เพื่ออยู่อาศัย 200
ไร่
2) พื้นที่ทำการเกษตร (ทำนา ทำสวน ทำไร่) 1,3๐0
ไร่
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ลักษณะพื้นที่ เป็นที่ราบสูง
แหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำ
การเกษตร
สภาพอากาศ มีสภาพอากาศเหมือนหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป มี ๓ ฤดู
คือ ฤดูร้อน
ฤดูฝน
และฤดูหนาว
การคมนาคม
บ้านโคกแก้ว การคมนาคมสะดวก มีถนนลาดยางเป็นเส้นทางหลักไปยังอำเภอภูสิงห์
จังหวัดศรีสะเกษ ถนนลาดยางที่ไปยังอำเภอใกล้ที่สุด
ระยะทางประมาณ ๑๘ กิโลเมตรและมีถนนลาดยางไปยังอำเภอขุขันธ์ผ่านไปถึงจังหวัดศรีสะเกษ
ระยะทางประมาณ ๗๐ กิโลเมตร พาหนะที่นิยมใช้เดินทาง คือ
รถจักรยานยนต์ และรถยนต์
การใช้ไฟฟ้าในหมู่บ้าน
มีครัวเรือนใช้ไฟฟ้า จำนวน ๘๖ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ระบบน้ำประปาของหมู่บ้าน มีครัวเรือนใช้น้ำประปา จำนวน ๘๖ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ
๑๐๐ ประปามีปัญหาคือน้ำไม่เพียงพอ
จำนวนประชากร (ข้อมูล
จปฐ. ปี ๒๕๕๗ )
-จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๘๖ ครัวเรือน
-ประชากร รวมทั้งสิ้น ๓๖๒
คน แยกเป็นชาย ๒๐๒
คน และ เป็นหญิง ๑๖๐
คน
ภาษาที่ใช้ในหมู่บ้าน ภาษาท้องถิ่นที่นิยมใช้ในหมู่บ้าน คือ ภาษาเขมร
การนับถือศาสนา ประชากรในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ
๑๐๐ ราษฎรไปทำบุญและ
ปฏิบัติศาสนกิจที่วัดโคกแก้ว
หมู่ที่ ๖ เป็นวัดในหมู่บ้าน
สภาพทางเศรษฐกิจ
รายได้เฉลี่ยของคนในหมู่บ้าน เป็นเงิน
57,372 บาท/คน/ปี (ข้อมูล จปฐ.
ปี ๒๕๕7 )
*รายได้สูงกว่าเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 85
ครัวเรือน
*รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. จำนวน ๑
ครัวเรือน
อาชีพหลัก(รายได้หลัก) ของคนในหมู่บ้าน คือ
ทำนา
อาชีพรอง(รายได้รอง) ของคนในหมู่บ้าน คือ
ทำสวน ทำไร่ รับจ้าง
รับราชการและค้าขาย
ประเพณีที่สำคัญ
๑) ประเพณีแซนโฎนตา
หรือสารทเขมร จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๐ หมายถึงการเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นวันที่อัญเชิญผีบรรพบุรุษทุกคน มารับประทานอาหารที่ลูกหลานจัดไว้ โดยมีพิธีส่งโฎนตา การรับโฎนตา และการเรียกโฎนตา โฎนตามี 2 ประเภทคือ โฎนตาเก่า และโฎนตาใหม่ โฎนตาใหม่ คือ การส่งโฎนตาของหนุ่มสาวที่หมั้นกันแล้ว แต่ยังไม่แต่งานกัน จะต้องส่งโฎนตาให้กัน เช่น ชายจะต้องส่งเครื่องใช้ในครัวเรือนให้หญิง หญิงจะต้องส่งอาหารคาวหวานตลอดจนฟูกหมอน ผ้าขาวม้า
โสร่งให้ชาย โฎนตาเก่า
คือ การส่งโฎนตาของครอบครัวที่มีลูกหลานแล้ว นำอาหารต่างๆ ไปส่งไปไหว้ พ่อแม่ ปู่ย่าตายายที่ยังมีชีวิตอยู่
๒) รำแม่มด หรือ เรือมม็วด เป็นพิธีกรรมของคนเชื้อสายเขมร โดยมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ววิญญาณยังคงวนเวียนอยู่
เพื่อคอยช่วยเหลือลูกหลาน และหากลูกหลานคนใดประพฤติผิดจารีตประเพณี
หรือทำไม่ดี ก็จะได้รับการลงโทษจากบรรพบุรุษให้ได้รับความเดือดร้อน
เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น เมื่อลูกหลานเจ็บป่วยจะบนบาน
และหากหายก็จะแก้บนด้วยการเล่นแม่มด โดยจะประกอบพิธีในช่วงเดือน
๓-๔ หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ในพิธีจะเชิญครูมม็วด ซ็องเมิง(ผู้เป็นหลักเมือง)เชิญผู้นำชุมชนเชิญแขกมาร่วม เครื่องดนตรีที่ใช้ในการเล่นเลือกตามแต่ฐานะของเจ้าภาพ
โดยมากรำแม่มดจะทำเมื่อมีคนป่วยรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันไม่หาย การรำแม่มดจึงทำเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย
และวิธีการรักษา แม้คนป่วยบางรายเคยอดข้าวอดน้ำมาเป็นเวลาแรมเดือนไม่รู้สึกหิวอะไร
นอนอยู่กับที่เคลื่อนไหวไม่ได้ พอจัดให้มีการเล่นแม่มดได้ยินเสียงดนตรีกระหึ่มเท่านั้นก็รู้สึกตัว
ลืมตา สามารถลุกขึ้นนั่งเองได้ เรียกหาอาหารรับประทานทันที พอมีกำลังก็ลุกเดินเข้าไปนั่งอยู่ในวงเล่นได้เอง
ตาหน้าสดใสยิ้มแย้ม บางทีน้ำตาคลออย่างนี้ก็มีหลายราย จึงพากันนับถือว่าดนตรีรักษาคนป่วยให้หายได้เหมือนกันในสมัยก่อนๆ
ไม่มีโรงพยาบาลวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันยังเจริญแพร่หลาย ฉะนั้นการรักษาพยาบาลคนเจ็บป่วยจึงอาศัยแค่แผนโบราณ
ใช้รากไม้สมุนไพร รดน้ำมนต์ ใช้คาถาอาคม เป่าสะเดาะห์ไปตามถนัด
ทำพิธีไล่ผีป่า ผีโป่ง ผีตายโหง ตายห่า เทพารักษ์ตามความรู้ความสามารถที่ตนศึกษามาจากหมอต่อจากครู
ตามพิธีการทางศัลยศาสตร์แต่ก็ต้องอาศัยการเล่นแม่มดเข้าช่วยด้วยเพราะเขาถือว่าไม่ปฏิบัติตามประเพณี
ผิดครู ผิดสัญญาที่บนบาลไว
๓) ประเพณีตามวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญของชาติ เช่น
-วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา
บุญทอดกฐิน และวันสงกรานต์
-ทำบุญเลี้ยงปู่ตา(ขึ้น
๓ ค่ำ เดือน ๓)
-ลอยกระทง บุญข้าวจี่ บุญผเวด และทำบุญขึ้นปีใหม่
อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน
บ้านโคกแก้ว มีอัตลักษณ์ที่สำคัญ คือ
ประชากรในชุมชนมีความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน
มีน้ำใจงาม ใช้จ่ายประหยัด มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย มีความเคารพผู้อาวุโส ใช้ภาษาท้องถิ่นคือ
ภาษาเขมรในการสื่อสาร และอาชีพหลักคือ
การทำนาปลูกข้าวหอมมะลิ